12 ธันวาคม 2552

หัวบุก


หัวบุกหรือคอนยัค เป็นพืชล้มลุกคล้ายพืชตระกูลมัน มีสารกลูโคแมนแนนที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว เพราะพองตัวได้นานถึงครึ่งชั่วโมง และช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลในร่างกาย หัวบุกไม่ให้พลังงานแต่การวิจัยพบว่า หัวบุกมีส่วนช่วยในเรื่องลดความอ้วนน้อย หัวบุกมักจะถูกแปรรูปเป็นเส้นใยขุ่นคล้ายวุ้นเส้น หรือก้อนลูกเต๋าเล็ก ๆ นำมาผสมกับเครื่องดื่ม
การใช้บุกเป็นอาหารลดความอ้วน
บุกที่รับประทานได้มีเพียง 3 สายพันธุ์ โดยเฉพาะชนิดที่นำมา เป็นอาหารสำหรับลดความอ้วน คือ A. oncophyllus หรือบุกไข่ สาเหตุ ที่เรียกเป็นบุกไข่ คือ มีลักษณะพิเศษมีไข่อยู่ตามลำต้นที่สายพันธุ์อื่นของบุก ไม่มี พบมากที่จังหวัดลำปาง พะเยา ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
สารสำคัญที่พบในบุก ที่สามารถเป็นอาหารลดความอ้วน คือ “กลูโคแมนแนน” (glucomannan) เป็นสารโมเลกุลใหญ่ (polysaccharides)ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ ดี-กลูโคส (D-glucose) และ (D-mannose) เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในรูปของใยอาหาร (dietary fiber) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินโดจีน เช่น ไทย ลาว เขมร เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น
ในประเทศญี่ปุ่น จะถือว่าการบริโภคบุกเป็นประเพณีที่สืบทอด กันมานานปี เรียกว่า “Konjac” (คอนจัค) และรวมถึงประเทศอื่นๆ ในแถบ ยุโรปและอเมริกา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก ฯลฯ ในขณะที่ ประเทศไทยเรียกพืชชนิดนี้ว่า “บุก” หรือ “กะบุก” และนิยมรับประทานใน รูปของยาเม็ดก่อนอาหารจะทำให้กินอาหารได้น้อย เพราะมีคุณสมบัติของ กลูโคแมนแนนที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การพองตัวในน้ำได้มาก
คุณค่าทางอาหารของบุก
จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของวุ้นบุก พบว่า วุ้นบุกไม่มี คุณค่าการให้พลังงานแคลอรีแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็น น้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามิน ไม่มีแร่ธาตุหรือสารอาหารใดๆ ที่เป็นประโยชน์ในระบบการสร้างเซลล์ของร่างกาย ดังนั้นเมื่อเทียบคุณค่า ทางอาหารของวุ้นบุกกับข้าว พบว่า ข้าวมีแคลอรีสูงกว่าวุ้นบุกถึง 10 เท่า
ข้อควรระวังในการบริโภควุ้นบุก
เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก ไม่ต่ำกว่า 20 เท่า ของ เนื้อวุ้นแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภควุ้นบุกภายหลังอาหาร ควรบริโภคก่อน อาหารไม่น้อยกว่า 30 นาที แต่การบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น เส้นวุ้น และวุ้นก้อน หรือแท่งนั้น บริโภคเป็นอาหารมื้อได้ เพราะได้ผ่านกรรมวิธี ซึ่งวุ้นได้ขยายตัวก่อนแล้ว การที่วุ้นหรือก้อนวุ้นจะพองตัวได้อีกนั้น จะเป็นไปได้น้อยมาก

รำข้าวโอ๊ต


รำข้าวโอ๊ต ( Oat Bran ) เป็นเส้นใย Fiber ที่ได้จากการขัดสี ข้าวโอ๊ต ให้ขาว หรือ คือเส้นใยบางๆ ที่ห่อหุ้มเมล็ด ข้าวโอ๊ต นั่นเอง โดยเราพบว่า รำข้าวโอ๊ต จะให้เส้นใยอาหาร หรือ fiber 2 ชนิด คือ
1. เส้นใยชนิดที่ละลายน้ำได้( Soluble Fiber) – ในอัตราส่วน 95-98% ของปริมาณ เส้นใยอาหารทั้งหมด ซึ่งเมื่อละลายน้ำแล้วจะทำให้เกิดสารละลายที่มีลักษณะเป็นเจล โดยเมื่อรับประทานเข้าไป ไฟเบอร์นี้จะละลายในสารอาหารก่อนที่ สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นเจลของไฟเบอร์จะเกาะติดกับสารอาหาร โดยเฉพาะไขมัน ทำให้ไขมันและสารอาหารอื่นๆ ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และจะเอาอาหารขับออกทางอุจจาระ จึงทำให้ลดไขมันคลอเรสเตอรอลในเลือดได้
2. เส้นใยชนิดที่ไม่ละลายน้ำ( Non-soluble Fiber) – ในอัตราส่วน 2-5 % ของ ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมด โดยจะมีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำ โดยจะดูดซับน้ำใว้กับตัวเองทำให้พองตัว เมื่อรับประทานเข้าไปจึงจะส่งผลให้ จึงทำให้ ปริมาตรของสารที่ต้องการขับถ่ายเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้เร็วขึ้น ป้องกันและรักษาปัญหาท้องผูกได้
ดังนั้นประโยชน์ของการรับประทานอาหารที่ผลิตจาก รำข้าวโอ๊ต จึงนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลและไขมันในเลือด อาทิ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึง สารอาหารและวิตามินที่จำเป็นบางอย่างในอาหาร อาจ ถูกขับถ่ายออกไปด้วย
ขนาดที่รับประทานครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม โดยรับประทานก่อนอาหาร 20-30 นาทีทั้ง 3 มื้อ และดื่มน้ำตามประมาณ 1-2 แก้ว ราคาที่ขายตาม ท้องตลาดหรือร้านขายยา ประมาณ 11-12 บาทต่อแคปซูล (1000 มิลลิกรัม) แพงเอาการอยู่เหมือนกันนะครับ
ข้าวโอ๊ตพบมากในประเทศแถบยุโรป เป็นไฟเบอร์ที่ช่วยลดการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย และรำข้าวโอ๊ตจะเกาะติดกับไขมันทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันไปได้น้อย อีกทั้งยังช่วยในการขับถ่าย ลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ไม่ทำให้ท้องผูก รำข้าวโอ๊ต บรรจุอยู่ในรูปของแคปซูลราคาค่อนข้างสูง

ดอกคำฝอย


ดอกคำฝอย มักจะนำมาทำเป็นชาที่เรารู้จักกันดีว่า ชาดอกคำฝอยมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ขับเหงื่อและเป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย ปัจจุบันนำมาใช้ในการลดความอ้วนด้วยการชงดื่ม

ดังนั้นเรามาเริ่มวิธีทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อย่าง น้ำดอกคำฝอย กันเถอะ โดยมีส่วนประกอบดังนี้
1. ดอกคำฝอย 1 กรัม

2. ต้มสุก 1 ถ้วย

3. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ : เลือก ดอกคำฝอย ใหม่ ๆ จะมีสีแดงสด มีกลิ่นหอม ถ้าเป็นดอกที่เก่าเก็บจะมีสี แดงอมน้ำตาลกลิ่นไม่หอม ชงด้วยน้ำ เดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 3-5 นาที กรองด้วย ผ้าขาวบาง จะได้ น้ำดอกคำฝอย สีเหลืองส้มเติมน้ำตาลทราย ดื่มเป็นครั้งคราว
ประโยชน์ : ดอก รสหวานร้อน เป็นยาขับระดู บำรุง ประสาท บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ดีพิการ ขับเหงื่อ ใช้ระงับประสาท บำรุง โลหิต แก้ไขข้ออักเสบ แก้หวัดน้ำมูกไหล เกสร รสหวานร้อน บำรุงโลหิตระดูและแก้แสบร้อนตามผิวหนัง เมล็ด รส หวานเย็น เป็นยาถ่าย ขับเสมหะ แก้โรค ลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก น้ำมันจากเมล็ด รสร้อน แก้อัมพาต แก้ฝี แก้ขัดตามข้อและลดไขมันในเส้นเลือด
เครื่องดื่ม ดอกคำฝอย จึงเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของคนที่รักสุขภาพดี ๆ ถ้าใครยังไม่เคยลิ้มลองก็ควรจะหาดื่มบ้าง เพราะ ดอกคำฝอย มีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย

คุณค่าด้านอาหาร
ใน เมล็ดดอกคำฝอย มีน้ำมันมาก สารใน ดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้ ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรายาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติหรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอกแต่มีข้อระวังคือ หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน
ไม่ว่าคุณจะใช้สมุนไพรตัวใดเพื่อลดน้ำหนักก็ตาม ควรจะปฏิบัติควบคู่ไปกับการกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดีขึ้น อย่าจดจ่อกับการใช้สมุนไพรอย่างเดียว เพราะการกินแค่สมุนไพรอาจจะทำให้คุณขาดสารอาหารและเสียชีวิตได้

21 พฤศจิกายน 2552

แอปเปิ้ล


แอปเปิ้ล (Apple)
สรรพคุณทางยา :ผลของแอปเปิ้ลนั้นจะมีสารอาหารจำพวกเกลือแร่และวิตามินหลาย ๆ ชนิดที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์ ดังนั้น ผู้ที่รับประทานผลแอปเปิ้ลเป็นประจำก็จะช่วยให้ผู้นั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

สุภาษิตของชาวตะวันตกที่เชื่อว่า หากรับประทานแอปเปิ้ลวันละหนึ่งผลทุกวันแล้ว จะมีร่างกายที่แข็งแรงและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้แล้วแอปเปิ้ลก็ยังมีสรรพคุณในการช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดความดันโลหิตภายในร่างกาย ช่วยขับเกลือจำพวกโซเดียมส่วนเกินให้ออกไปจากร่างกาย อีกทั้งแอปเปิ้ลยังมีสรรพคุณในการเป็นยาระบายอ่อน ๆ อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว สาร Pectin จำนวนมากในผลแอปเปิ้ลก็ยังจะช่วยทำให้ระบบความสมดุลของการย่อยสลาย และการดูดซึมอาหารของมนุษย์เป็นปกติและดีขึ้นอีกด้วย
ตำรับยาแผนโบราณ :หากรับประทานผลแอปเปิ้ลสุกติดต่อกันเป็นประจำแล้วก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องร่วงขึ้นมาได้ นอกจากนี้แล้ว ผลแอปเปิ้ลสดนั้นก็ยังมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย เช่นเดียวกับอาการของโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะบรรเทาไปได้เมื่อหมั่นรับประทานผลแอปเปิ้ลสุกเป็นประจำ ส่วนน้ำแอปเปิ้ลสดนั้นก็ยังมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้หรือลดอาการมีเสมหะในลำคออีกด้วย

ส้ม


ส้ม
ผิวส้มมีน้ำมันหอมระเหย วิตามินซีและสารอาหารอื่นๆแล้วเรายังใช้เป็นยาได้อีกด้วย

ผิวผลใช้สกัดทำทิงเจอร์ สำหรับแต่งกลิ่นยาและมีฤทธิ์ขับลม
เปลือกส้มเรสสามารถนำมาปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ น้ำจากผลให้วิตามินซีรับประทานป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน บำรุงร่างกาย แก้ไอและขับเสมหะได้ด้วย

อินทผลัม


อินทผลัม (Date-tree)
สรรพคุณทางยา :ผลอินทผลัมแห้งนั้นมีสรรพคุณในการแก้กระหายและช่วยลดเสมหะภายในลำคอ

อ้อย


อ้อย (Sugar cane)
สรรพคุณทางยา :อ้อยเป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่า ภายในลำต้นของอ้อยนั้นประกอบไปด้วยน้ำ น้ำตาล เกลือแร่ และกรดอามิโนในชนิดที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการอยู่เป็นจำนวนมาก อ้อยมีสรรพคุณในด้านการเป็นตัวยาที่ช่วยในการลดความร้อนภายในร่างกาย บรรเทาอาการกระหายน้ำ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นมาได้
ตำรับยาแผนโบราณ :หากนำเอาน้ำอ้อยสดมาต้มรวมกับข้าวต้มรับประทานแล้วก็จะช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังที่เกิดขึ้นเองมาจากวัณโรคที่ปอดได้ นอกจากนี้แล้วหากนำเอาน้ำอ้อยสดมาผสมกับน้ำขิงรับประทานแล้วก็จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน และช่วยรักษาอาการของโรคกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี ส่วนชานอ้อยที่เหลือจาการคั้นเอาน้ำอ้อยแล้ว หากนำมาต้มกับสุรารับประทานแล้วก็จะช่วยรักษาอาการปัสสาวะขัด หรือบรรเทาอาการปวดในบริเวณกระเพาะปัสสาวะได้

ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน

เหง้าขมิ้นชันมีฤทธิ์ทางยาที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้

1. ฤทธิ์ขับน้ำดี กระตุ้นการขับน้ำดีทำให้การย่อยอาหารดีขึ้นช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด

2. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

3. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ

5. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ antioxidant activity ของสารกลุ่มเคอร์คูมินนอยด์

6. ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์และต้านการเกิดมะเร็งจากการได้รับสารก่อมะเร็งที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ

7.ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

8.ฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลากขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่ใครๆ ก็รู้จัก

คนสมัยก่อนมีการใช้ประโยชน์จากขมิ้นในหลายๆ ด้าน ทั้งเป็นยาภายนอกและยาภายใน

ยาภายนอกเชื่อว่าขมิ้นชัน ช่วยรักษาแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง ช่วยสมานแผล ดังนั้น เวลาที่ก่อนจะบวชเป็นพระนาคต้องปลงผมก่อนอุปสมบท หลังจากโกนผมแล้วเขาจะทาหนังศรีษะด้วยขมิ้น เพื่อรักษาบาดแผลที่อาจจะเกิดจากใบมีดโกน

สรรพคุณ ในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ในสมัยที่ยังเล็กๆ ตอนยุงกัดเป็นตุ่มแดง คุณยายมักจะใช้ปูนกินกับหมากแต้ม เพราะต้องการฤทธิ์แก้พิษของขมิ้น ที่ผสมอยู่ในปูนที่กินกับหมาก และฤทธิ์ของปูนที่ช่วยให้ขมิ้นติดผิวได้ดีขึ้น (ปูนกินกับหมากของคนโบราณ ได้จากการเผาเปลือกหอยจนร้อนจัด สามารถบดเป็นฝุ่นละเอียดสีขาว แล้วเอาไปผสมกับขมิ้นจะให้สีส้ม หรือเรียกเป็นสีเฉพาะว่า สีปูน)

นอกจากนี้ยังนิยมใช้ขมิ้นเป็นเครื่องสำอาง คนในแถบตอนใต้ของเอเชีย และแถบตะวันออกไกล ใช้ขมิ้นทาผิวหน้าทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียด จนมีคำกล่าวในบรรดาชายไทยว่าสาวจะสวยต้อง "ผิวพม่า นัยน์ตาแขก" ส่วนในการใช้เป็นยารับประทาน เชื่อว่าขมิ้นชันมีสรรพคุณในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย

มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศรีษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เป็นต้น

ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้น ตามการใช้แบบโบราณ ก็พบว่ามีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้นชันมีสรรพคุณทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร

มีการค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ พบว่า การกินอาหารผสมขมิ้นสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่างๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์

กระเทียม


กระเทียม(Garlic)

กระเทียมช่วยป้องกันเชื้อโรคทุกชนิด รวมทั้งเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะด้วย

มีหลักฐานพบว่า มีการใช้กระเทียมรักษาและป้องกันโรคมาหลายพันปีแล้ว พบว่ากระเทียมช่วยทำให้เลือดดี สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและล้างสารพิษ ปริมาณที่ควรบริโภคเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันคือ 1,000-1,500 มิลลิกรัม ซึ่งอาจใช้เป็นรูปกระเทียมสด กระเทียมสกัด กระเทียมผงได้ กระเทียมมีสารอัลลิซิน (alliein) ซึ่งเมื่อผสมกับก๊าซออกซิเจนแล้ว จะได้สารประกอบถึง 100 กว่าชนิด ที่ทำปฏิกิริยาได้ทันที (active compounds) จากการศึกษาก็ยังพบว่า กระเทียม ไม่ว่าจะอยู่ในรูป สด แห้ง น้ำมัน หรือปรุงแต่งแล้ว เช่นผ่านกระบวนการ aged นั้น ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น กระเทียมสามารถต้านการรวมตัวของเลือด(antiaggregative) ลดสลายปริมาณ คอเลสเตอรอลและ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และสารที่เป็นพิษต่อตับ จากการทดลองโดยใช้สัตว์ทดลองพบว่า กระเทียม สามารถต้านการเกิดเนื้องอก (tumor formation) และการค้นพบที่สำคัญยิ่งคือมีรายงานว่ากระเทียม ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด เอ็นเค (Natural killer , NK) ทำหน้าที่ได้ดีมากขึ้น กระเทียมยังส่งเสริมการทำงานของเซลล์แม็คโครเฟ็จ(macrophage) และเซลล์ลิมโฟซัยท์(lymphocytes) ซึ่งเซลล์นี้ทำหน้าที่สำคัญในการเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ กระเทียม มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

สารประกอบอื่นๆ ที่มีประโยชน์อีกได้แก่

1.ซีเลเนียม (Selenium) เป็นสารป้องกันที่ไม่ให้เนื้อเยื้อถูกทำลาย (Anti-oxidant)

2.วิตามินบี1 ช่วยให้ระบบประสาทและสมองทำงานดีขึ้น

3.สารไดอัลลิน ไดซัลไฟต์ (Diallyl Disulfide) มีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดอาการท้องเสีย

4.สารเกลือแร่ที่พบในกระเทียมคือ เจอร์มาเนียม(Germanium) มีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด

5.สารกลูโคไคนิน (Glucokinin) ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

6.อัลลิซิน(allicin) มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อราประเภท Candida albicans ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคันและตกขาวที่ช่องคลอดอีกประการหนึ่งที่ใช้ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ คือ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด เยื้อจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ภูมิแพ้ (Anti-allergy) มีคนจำนวนมากที่ใช้กระเทียมในการรักษาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ดีขึ้นอย่างเห็นผลจากประสบการณ์


กรณีห้ามใช้มีดังนี้

- ไม่ควรใช้กระเทียมในขณะใช้ยาต้านการรวมตัวของเลือด(Anticoagulants)

-ไม่ควรใช้ก่อนรับการผ่าตัด อาจทำให้เลือดออกมากว่าปกติ

-ไม่ควรใช้หากใช้ยาป้องกันการขาดน้ำตาลในเลือด(Hyproglycemic drugs)

ประโยชน์ของกระเทียม

1.กระเทียมช่วยรักษาระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้เป็นปกติ

2.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และ ไวรัส

3.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวเป็นก้อน อุดตันหลอดเลือด เหมาะกับผู้สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราจัด คนอ้วน หรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย4.ช่วยขจัดสารพิษต่างๆ ออกจากร่างการ โดยขับออกทางอุจจาระ5.กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เช่นโรค หวัด เยื่อจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ภูมิแพ้6.เป็นยาขับลมช่วยบรรเทาอาการเสียดท้อง(Colic) ท้องอืด (Flatulance)7.ลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมการทำงานของตับอ่อน ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon)8.ลดอันตรายจากอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง

มะรุม


"มะรุม"

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรคใบมะรุมมี โปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่าการกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน

มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค

นั่นคือวิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้มแคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสดโพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วยใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก

ประเทศอินเดียหญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก

ประเทศฟิลิปปินส์และบอสวานา หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม(ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”)เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทยกล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือรูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin)สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก(lutein และ caffeoylquinic acids)ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุการกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย ฆ่าจุลินทรีย์ สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori

สรรพคุณ

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอด ได้เป็นอย่างดี

2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย

3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง

4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIVนอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไป สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง

5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้นในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสีการดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง

7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม

8.รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็นโรคตาต้อ เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์

9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น

10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบในต่างประเทศมีการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมากใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆมีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมากนอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่าการกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน





มะละกอ


มะละกอ
ส่วนที่ใช้ : ผลสุก ผลดิบ ยางจากผลหรือจากก้านใบ ราก
สรรพคุณ :
ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
ราก - ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
เป็นยาระบาย ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย

ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร

ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี
ราก เป็นยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง : สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

20 พฤศจิกายน 2552

ฟ้าทะลายโจร


ฟ้าทะลายโจร
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
สรรพคุณ มี 4 ประการคือ
1.แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
2.ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี
3.แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
4. เป็นยาขมเจริญอาหาร

วิธีและปริมาณที่ใช้
1. ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน
ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2
ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
2. ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้
ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ
(หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน

ทับทิม


ทับทิม
ส่วนที่ใช้ เปลือก ลำต้น ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ด และเปลือกราก
สรรพคุณ
เปลือกลำต้น : ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35-0.6% และอัลกาลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้มีชื่อเรียกว่า Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งใช้เป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี
ใบ : ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้างแผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้ เป็นต้น
ดอก : ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือดกำเดา แข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5-4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำ มาต้มกินน้ำ ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรคบิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิ ตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น
เมล็ด : ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6-9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจากโรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น
เปลือกราก : ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6-12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดู ขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรัง เป็นต้น
Tips

1. บาดแผลจากเชื้อรา แผลเรื้อรังที่ผิวหนัง ให้ใช้เปลือกรากพอประมาณ นำมาต้มใช้ น้ำล้างแผล

2. เป็นบิดเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือด ให้ใช้เปลือกผล นำมาผิวไฟให้เกรียม แล้วนำมา บดให้ละเอียด ประมาณ 3-6 กรัม ผสมกับน้ำข้าวกิน หรือมะเขือยาว 1 ลูก แล้วต้มเอาน้ำดื่มกิน
ข้อห้ามใช้

1. เป็นบิด ท้องเสีย หรือท้องผูก ไม่สมควรใช้เปลือกราก เป็นยาแก้

2. การใช้เปลือกรากเป็นยาแก้ ควรจะใช้อย่างระมัดระวังให้มาก เพราะเปลือกรากมี พิษ

แตงกวา


แตงกวา
สรรพคุณ

ผลแตงกวา มีคุณสมบัติเย็น รสหวาน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ เจ็บคอ ทอนซิลอักเสบ ไฟไหม้น้ำร้อนลวกใบแตงกวา มีคุณสมบัติเย็นเล็กน้อย รสขม สรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้อาการท้องเสีย เป็นบิด ลดโคเลสเตอรอลรากแตงกวา มีคุณสมบัติเย็น รสขมหวาน

สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย เป็นบิดเถาแตงกวา มีคุณสมบัติเป็นกลาง รสขม

สรรพคุณขับปัสสาวะ เป็นบิดโดยมีสรรพคุณในการช่วยขับปัสสาวะและแก้ไข้ให้ความสดชื่นช่วยให้ผิวสวย ทำให้ผิวพรรณสดชื่อน มีน้ำมีนวล ดังนั้นจึงจะเห็นสูตรรักษาความงามของคุณผู้หญิงที่นิยมเอาแตงกวามาแปะหน้าทิ้งไว้เชื่อว่าทำให้หน้าขาวผ่อง และอ่อนนุ่ม

ฝรั่ง


ฝรั่ง
ส่วนที่ใช้ : ใบเพสลาด ผลอ่อนสด ผลสุก เปลือกต้นสดๆ ราก
สรรพคุณ : ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง
ใบ - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค) เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบ 2-3 ใบเคี้ยวๆ ระงับกลิ่นปาก แก้ฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุง
ผลอ่อน - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก แก้บิดมูกเลือด มีไวตามินซีมาก เป็นกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
ผลสุก - มีสารเพ็กตินอยู่มาก ใช้รับประทานเป็นยาระบายได้
ราก - แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล
วิธีและปริมาณที่ใช้
1.ใช้ฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน

วิธีที่ 1 รับประทานสด- ใช้ส่วนที่เป็นยอดอ่อนๆ 7 ยอด หรือใบเพสลาด 6-8 ใบ ค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียดทีละน้อย ค่อยๆ กลืน แล้วดื่มน้ำตาม ถ้าเคี้ยวทีละมากๆ จะรู้สึกฝาดขม ถ้าเคี้ยวกับเกลือเล็กน้อย จะช่วยให้รับประทานง่ายขึ้นวิธีนี้ได้ผลมาก เพราะรับประทานทั้งน้ำและเนื้อของใบฝรั่งจนหมด ได้ตัวยาครบถ้วน- อาจรับประทานผลดิบ ครั้งละ 1-2 ผล โดยเคี้ยวก่อนค่อยกลืนก็ได้

วิธีที่ 2 ต้มดื่ม- ใช้ใบเพสลาด 5-10 ใบ หรือเปลือกต้นสดๆ 1 ฝ่ามือ ใส่น้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเดือดนาน 5-30 นาที เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ รับประทานครั้งละ ½ - 1 แก้ว วันละ 2 ครั้งรับประทานตามอาการหนักเบา เวลาดื่มเติมเกลือเล็กน้อยทำให้ดื่มง่ายขึ้น
วิธีที่ 3 ชงน้ำร้อนดื่ม- เอายอดฝรั่ง 7 ยอด หรือใบฝรั่ง 6-10 ใบ ชงกับน้ำเดือด 2 แก้ว ปิดฝาไว้ 15-20 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ดื่มบ่อย ๆ
วิธีที่ 4 ต้มคั้นเอาน้ำ- เอาใบฝรั่ง 6-10 ใบ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำสุก 3-5 ช้อนแกง ต้มให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาว เอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยดื่มจนหมดวิธีที่ 5 บดผงรับประทาน- ใช้ผลฝรั่งที่เกือบแก่ หั่นเป็นแว่นบาง ๆ ตากแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½-1ช้อนชา โดยผสมน้ำ วิธีนี้รสชาติดีเด็กดื่มได้ง่าย
2.ใช้เป็นยาห้ามเลือด
- ใช้ใบสดล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลที่มีเลือดออก เลือดจะหยุด
3.ช่วยระงับกลิ่นปาก
- ใช้ใบสด 3-5 ใบ เคี้ยวและคายกากออกทิ้ง
4. เป็นยากันหรือแก้โรคลักปิดลักเปิด ฝรั่งมีไวตามินซีมาก
- ใช้ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก รับประทานเป็นผลไม้ จะเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงเหงือกและ
ฟัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาท้องลำไส้ไม่ให้ผูก ช่วยบำรุงผิวพรรณ คนที่ชอบเป็นฝีเป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานฝรั่งบ่อย ๆ ก็ช่วยบรรเทาลงไปได้

ทุเรียน


ทุเรียน
โภชนาการและสรรพคุณทางยา

ในประเทศมาเลเซีย สิ่งที่สกัดจากใบและรากใช้เป็นยาลดไข้ได้ น้ำจากใบใช้วางบนศีรษะของคนป่วยเป็นไข้เพื่อลดไข้

ในตำราสมุนไพรไทยได้กล่าวไว้ว่า ส่วนต่าง ๆ ของทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ โดยใบมีรสขม เย็นเฝื่อน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง เนื้อทุเรียนมีรสหวาน ร้อน มีสรรพคุณให้ความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้ง และขับพยาธิ เปลือกทุเรียนมีรสฝาดเฝื่อนใช้สมานแผล แก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝี ตาน ซาง คุมธาตุ แก้คางทูม และไล่ยุงและแมลง ส่วนรากมีรสฝาดขมใช้แก้ไข้และแก้ท้องร่วง

ตะไคร้


ตะไคร้
ส่วนที่ใช้ ต้น หัว ใบ ราก และต้น
สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
Tips

มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วัน ๆ ละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหาย

องุ่น


องุ่น (Grape)
สรรพคุณทางยา :ผลองุ่นนั้นมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์มากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลกลูโคส กรดซิตริก วิตามิน ซี เหล็ก แคลเซียม และสารอนินทรีย์ในชนิดต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่รับประทานผลองุ่นเป็นประจำแล้วก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสมองและความจำที่ดี มีอวัยวะภายในที่แข็งแรงไม่ว่าจะเป็นสมอง ตับหรือหัวใจ นอกจากนี้แล้ว องุ่นก็ยังมีสรรพคุณในการแก้กระหาย ขับปัสสาวะ และเหล้าไวน์ที่ทำจากผลองุ่นนั้นก็ยังมีสรรพคุณในการป้องกันโรคหัวใจ ช่วยในการระงับประสาทและระงับความเจ็บปวดอีกด้วย
ตำรับยาแผนโบราณ :หากนำเอารากของต้นองุ่นสดมาต้มรับประทานกับน้ำแล้วก็จะช่วยระงับอาการของโรคตับอักเสบและดีซ่านได้ นอกจากนี้แล้วหากดื่มไวน์จากผลองุ่นเป็นประจำก็จะช่วยในการรักษาโรคโลหิตจาง และอาการวิงเวียนศีรษะได้เป็นอย่างดี หรือหากสตรีมีครรภ์ที่รับประทานผลองุ่นสดแล้วก็จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้

หว้า


หว้า (Jambolan)
สรรพคุณทางยา :ส่วนต่าง ๆ ของต้นหว้านั้นสามารถที่จะนำเอามาเป็นยาได้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ผล เมล็ด หรือเปลือกหุ้มลำต้น โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยที่มีในใบและเปลือกของต้นหว้านั้นมีสรรพคุณในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี และส่วนของเปลือกหุ้มลำต้นนั้นจะมีสรรพคุณในการแก้อาการท้องร่วง และบรรเทาโรคบิดได้เป็นอย่างดี
ตำรับยาแผนโบราณ :หากนำเอาผลหว้าสดมาต้มกับน้ำรับประทานเพื่อบรรเทาอาการหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศได้เป็นอย่างดี หรือหากนำเอาผลของลูกหว้าไปตากแห้งบดให้ละเอียด รับประทานเป็นประจำแล้วก็จะทำให้ทุเลาอาการเจ็บป่วยของโรควัณโรค โรคปอดได้

แห้ว


แห้ว (Truffle)
สรรพคุณทางยา :ในผลแห้วมีสารอาหารต่าง ๆ มากมาย เช่น แคลเซียม เหล็ก และวิตามิน ซี ตลอดจนสารที่ชื่อว่า “Puchin” ที่มีสรรพคุณในการช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วผลของแห้วก็ยังมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย แก้อาการกระหายน้ำ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก และแก้อาการเป็นพิษเนื่องมาจากการดื่มสุรา
ตำรับยาแผนโบราณ :หากนำเอาเนื้อของผลแห้วสดมาถูในบริเวณที่เป็นหูดอย่างต่อเนื่องแล้วก็จะทำให้ก้อนหูดนิ่มลงได้ หรือหากรับประทานผลแห้วสดเป็นประจำแล้วก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวารได้ เช่นเดียวกับการดื่มน้ำแห้วสดที่สามารถจะรักษาอาการพิษของสารประกอบจำพวกทองแดงได้

หมาก


หมาก (Betel nut)
สรรพคุณทางยา :ผลของหมากนั้นมีสรรพคุณในการช่วยขับพยาธิได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ พยาธิตัวกลม เป็นต้น นอกจากนี้แล้วหมากก็ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคมาเลเรีย และมีฤทธิ์ในด้านการเป็นยาที่ช่วยขับปัสสาวะอีกด้วย จากการวิจัยพบว่า หมากมีสารชื่อ อัลคาลอยด์ ที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อราและฆ่าเชื้อไวรัสอีกด้วย
ตำรับยาแผนโบราณ :หากนำเอาเนื้อของผลหมากและเมล็ดฟักทองมาต้มรวมกับน้ำตาลทราย ดื่มพร้อมกันน้ำก็จะช่วยในการขับพยาธิชนิดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี หรือหากจะเอาผลหมากสุกมาต้มกินกับน้ำแล้ว จะช่วยป้องกันอาการของโรคต้อหินหรือความดันภายในลูกตาเพื่อไม่ให้สูงผิดปกติได้

มะเขือเทศ


มะเขือเทศ
สรรพคุณทางยา :- มะเขือเทศมีสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปากที่เกิดจากเชื้อราได้

มะเขือเทศมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ คือ ไลโคปีน ที่มีคุณสมบัติสามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้

หากทานมะเขือเทศ 10 ครั้ง/สัปดาห์ จะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายได้ถึง 45% นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีเบต้าแคโรทีน และฟอสฟอรัสมาก ที่มะเขือเทศมีรสชาติอร่อยนั้น เพราะมีกรดอะมิโนที่ชื่อกลูตามิคสูง กรดอะมิโนนี้เองเป็นตัวเพิ่มรสชาติให้อาหาร ทั้งยังเป็นกรดอะมิโนตัวเดียวกับที่อยู่ในผงชูรสด้วย

รักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม
ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอ และวิตามินซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารเบต้าแคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น
มะเขือเทศมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูง เพราะมะเขือเทศมี วิตามินพี (citrin) ซึ่งจะช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงสามารถแก้อาการความดันโลหิตสูง

มะเขือเทศมีวิตามินเอจึงสามารถรักษาโรคตาได้ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือมีวิตามินซีมากทำให้สามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ช่วยระบบการย่อยและช่วยการขับถ่ายอุจจาระอีกด้วย
ช่วยบำรุงผิวลดริ้วรอย ผิวพรรณไม่แห้งกร้าน ระบบการหมุนเวียนเลือดดีขึ้น และยังสามารถต้านมะเร็งได้ด้วย

มะขามเปียก


มะขามเปียก
สูตร

น้ำมะขามเปียกคั้นข้นๆ 2 ช้อนโต๊ะ นมสด 1 ช้อนชา น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา
วิธีทำ

นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน นำมาพอกหน้า โดยเว้นรอบดวงตาและริมฝีปาก ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำติดต่อกัน 4-5 ครั้ง (ซักสัปดาห์ละครั้งก็พอ) ใบหน้าที่หมองคล้ำ จะกลับกลายเป็นขาวใสผุดผ่อง

มะขามเปียก



มะขามเปียก
สูตร


น้ำมะขามเปียกคั้นข้นๆ 2 ช้อนโต๊ะ นมสด 1 ช้อนชา น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา
วิธีทำ


นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน นำมาพอกหน้า โดยเว้นรอบดวงตาและริมฝีปาก ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำติดต่อกัน 4-5 ครั้ง (ซักสัปดาห์ละครั้งก็พอ) ใบหน้าที่หมองคล้ำ จะกลับกลายเป็นขาวใสผุดผ่อง

มะนาว


มะนาว

สรรพคุณ

นำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลใบหน้าได้มากทีเดียวค่ะ เราใช้มะนาวล้างหน้าแทนสบู่หรือโฟมได้ หรืออาจจะใช้ไข่ขาว 1 ช้อนชา ดินสอพอง 2 เม็ดใหญ่ มะนาว 1/2 ลูก น้ำผึ้ง 1 ช้อน น้ำมันมะกอก 1/2 ช้อนชา ผสมให้เข้ากันจะได้ครีมข้นนำมาพอกหน้า พอกตัวประมาณ 20-30 นาที แล้วล้างออก ทำวันเว้นวัน ไม่นานผิวพรรณจะใสนุ่มเนียน

ว่านหางจระเข้


ว่านหางจระเข้
สรรพคุณ
ใช้รักษาสิวล้างหน้าเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด ใช้วุ้นจากใบสดทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปล่อยให้แห้งโดยไม่ต้องล้างออก

ข้อควรระวัง ต้องล้างยางสีเหลืองจากขอบใบออกให้หมดก่อนใช้ เนื่องจากมีฤทธิ์ระคายเคืองมาก อาจทำให้เกิดการแพ้ สำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่าย อาจทดลองทาวุ้นบริเวณท้องแขนดูก่อน หากมีผื่นแดงหรือคันไม่ควรใช้ทาหน้า

ผักชีลาว


ผักชีลาว
สรรพคุณ นำผลแก่แห้งของผักชีลาวบดให้เป็นผง ชงกับน้ำดื่มวันละ 4-5 แก้ว แก้อาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมหรือใช้ต้นสดของผักชีลาวผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน ส่วนน้ำมันมักใช้ผสมในยาย่อยอาหาร ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ทั้งต้น แก้บวม แก้เหน็บชา ขับเหงื่อ

เมล็ด ทำให้ผายลมและเรอ แก้หอบ บำรุงปอด แก้ไอ แก้ลมที่ทำให้สะอึก แก้ลมวิงเวียน แก้อาเจียน ผล ขับลม แก้ไอ แก้หอบหืด และแก้คลื่นไส้อาเจียน ใบ มีผลดีต่อกระเพาะ ม้าม และตับ มีวิตามินเอ ช่วยการทำงานของกระเพาะ

สะระแหน่


สะระแหน่
สรรพคุณ สะระแหน่ มีฤทธิ์เย็นรสเผ็ด น้ำมันสาระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน ใช้ผสมยาหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอ

1. รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง

2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ

3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด

4. ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก

5. รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี

6. รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด

ข่า


ข่า
สรรพคุณ

1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม

4. ใช้ไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง

5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด

ชะพลู


ชะพลู
สรรพคุณ:

ใบ: รสเผ็ดร้อน เจริญอาหาร ขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด ทำให้เลือดลมซ่าน

ดอก (ลูก): รสเผ็ดร้อน แก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้

ราก: รสเผ็ดร้อน แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง

ต้น: รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะในทรวงอก ขับเสมหะ

ชะอม


ชะอม
ส่วนที่ใช้ : ราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ราก ใช้ฝนกินเป็นยารักษาอาการท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ และรักษาอาการปวดเสียว ในท้องได้ดีอื่น ๆ : ถ้าเราเก็บเอาใบชะอมไปผูกไว้ในกรงนกขุนทอง นกได้กลิ่นก็จะตาย แต่ถ้านกตัวนั้นเกิดในป่าชะอมจึงจะทนต่อกลิ่นนี้ได้ เพราะนกเคยชินต่อกลิ่นมาตั้งแต่กำเนิด

ตำลึง


ตำลึง
ส่วนที่ใช้เป็นยา: ใบสด มีรสหวาน และเหม็นเขียวเล็กน้อย
ขนาดและวิธีใช้ : ใช้ใบสดล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมดินสอพอง และน้ำเล็กน้อยคั้นเอาน้ำทาบ่อย ๆ หรือพอกบริเวณที่เป็น
สรรพคุณ:
ราก แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน แก้ไข้ทุกชนิด ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนภายใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบต่อย
ต้น กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้น รักษาเบาหวาน
เปลือกราก เป็นยาถ่าย ยาระบาย
เถา แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน
ใบ เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษามะเร็งเพลิง แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบปวดร้อน ถอนพิษคูน แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้ไข้หวัด แก้พิษกาฬ แก้เริม แก้งูสวัด

ผล แก้ฝีแดง
ทั้งห้า รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม รักษาเบาหวาน
คุณค่าทางอาหารและยา: ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด เมื่อรู้คุณค่ามหาศาล ของเจ้าตำลึงผู้ต่ำต้อย ห้อยอยู่ข้างรั้ว จะมัวช้าอยู่ทำไมเก็บมาปรุงอาหารกันดีกว่า ราคาซื้อหาตำลึงก็แสนถูก และเป็นผักสด ปลอดสารพิษที่มีคุณค่าอาหารสูง ... เพียงเท่านี้ก็คุ้มกับสุขภาพแล้ว
วิธีใช้และการรักษา:ใช้เป็นรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงกัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง แพ้ละอองข้าว โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กแล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย

ฟักทอง


ฟักทอง
ส่วนที่ใช้ : ผล เมล็ด

สรรพคุณ : ผล เนื้อในของผลฟักทองนั้นจะมีสารพวก carotenes อยู่ ซึ่งสารนี้เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของคาวหรือของหวาน เป็นอาหารเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดีเมล็ด ภายในเมล็ดจะมีน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นยาที่ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด โดยการใช้เมล็ดแห้ง 60 กรัมนำมาบดให้เป็นผง แล้วผสมกับน้ำตาลและนม ให้คนไข้ทานโดยทิ้งช่วงห่างประมาณ 2 ชั่วโมง พอครั้งสุดท้ายให้ดื่มน้ำมันละหุ่งตามเพื่อให้ถ่าย

สารเคมีที่พบ : เนื้อฟักทองประกอบด้วยสาร carotenes และแป้งเป็นสารพวก carotenes สารสองชนิดนี้จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเมื่อเราบริโภคเข้าไปแล้ว และภายในเมล็ดจะมีน้ำมัน

มะเขือพวง


มะเขือพวง
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวด ฟกช้ำใบ สรรพคุณ ห้ามเลือด แก้ฝีบวม มีหนอง

ผล สรรพคุณ ขับเสมหะราก รักษาแผลแตกบริเวณเท้า รากยังใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ
สรรพคุณ ทั้งต้น ใบ และผล รสจืด เย็นและมีพิษเล็กน้อย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวมมีหนองและอาการบวมอักเสบ

รากใช้พอกเท้าแตกเป็นร่องเจ็บ
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
รสขื่น แก้ไอ ขับเสมหะ มะเขือพวง 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 46 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 6.1 กรัม แคลเซียม 158 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม เหล็ก 7.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 554 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม

มะขาม


มะขาม
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้ :
ถ่ายพยาธิ : เอาเมล็ดแก่มาคั่วแล้วกระเทาะเปลือก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช้น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เมล็ด ลดความดัน : นำดอกสด ไม่จำกัด ใช้แกงส้ม หรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน ท้องผูก : ใช้เนื้อมะขามเปรี้ยวในฝักที่แก่จัด 10 - 20 ฝัก (70 - 80 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน หรือ ดื่มน้ำตามมากๆ หรือ คั้นน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม

แก้หวัด : ต้มน้ำให้เดือดพลั่ก ทุบหัวหอมสัก 7 - 8 หัว ใบมะขามอ่อนและแก่ ลงไป พอควันขึ้นก็เอาผ้าขนหนูผืนใหญ่คลุมทั้งหัวและหม้อหัวหอม ใบมะขาม สูดเข้าสูดออกสัก 5 นาที ระวังอย่าสูดไอร้อนๆอย่างเดียวตลอด พอร้อนทนไม่ไหวก็เอาผ้าคลุมออก เอาผ้าคลุมสูดใหม่ จนพอใจ เติมน้ำเย็นลงไปในหม้อกลายเป็นน้ำอุ่นๆ เอาหัวหอมกับใบมะขามโกรกหัวหลายๆ ครั้ง

ท้องเดิน : รากมะขาม 1 กำมือต้มกับน้ำพอประมาณ จนเดือดแล้วดื่ม 1 ถ้วยกาแฟ ก็จะบรรเทาอาการ เริม

และงูสวัด : เอาเปลือกมาฝนฝาละมีหม้อดินกับน้ำทาแผล ไอ และมีเสมหะ : ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร

พริกไทย


พริกไทย
สรรพคุณ

1. เปลือกของพริกไทยมีน้ำย่อยสำหรับย่อยไขมัน ด้วยเหตุนี้ตำราโบราณจึงเชื่อกันว่าพริกไทยสามารถลดความอ้วนได้

2. พริกไทยช่วยกระตุ้นปุ่มรับรสที่ลิ้น เพื่อให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยได้มากขึ้น

3. พริกไทยดำมีรสเผ็ดอุ่น เมื่อรับประทานเข้าไปจะรู้สึกอุ่นวาบที่ท้อง ช่วยขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค

4. ใช้ก้านพริกไทย 10 ก้าน บดให้ละเอียดแล้วต้มกับน้ำ 8 แก้ว ใช้เป็นยาล้างแผลที่อัณฑะ

5. สารพิเพอรีนในพริกไทยสามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์โดยนำผลพริกไทยมาทุบให้แตกแล้วใช้โรยบริเวณตู้เสื้อผ้าหรือบริเวณที่ต้องการ

หอม


หอม
สรรพคุณทางยา:
หัว ขับลมในลำไส้ แก้หวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้อันบังเกิดแก่จักษุ แก้ไข้อันบังเกิดแก่ทรวงแก้โรคตา ขับเสมหะ แก้โรกในปาก บำรุงเส้นผมแก้ลมพรรดึก เจริญไฟธาตุ กแก้กำเดา แก้อาการเมาค้างจากเหล้า แก้สะอึกแก้ท้องเสีย เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน ขับปัสาวะ บำรุงโลหิต
ใบ :แก้ท้องผูกแก้ลม เจริญอาหาร แก้กำเดา แก้หวัด แก้ฟกช้ำ
เมล็ด :แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ แก้อาเจียนเป็นเลือด
วิธีใช้และการรักษา : นำหอมกินกับข้าว เพื่อขับลม

กระชาย


กระชาย
สรรพคุณ กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ

วิธีใช้เพื่อเป็นยา / ประโยชน์อื่น

1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสในอัตราส่วน กระชายแก่ 4 หัว ต่อน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากันดีแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้นให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เมื่อหายแล้วกินต่ออีก 1-2 วัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน

3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วนที่เท่ากัน รับประทานก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 1 ถ้วยชา

4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำรากกระชายแก่ ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง บดให้เป็นผงเก็บไว้ละลายกับน้ำร้อนดื่มแก้อาการเป็นลม

5. ไล่แมลง ใช้รากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ผสมน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน

ขิง


ขิง
สรรพคุณ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

วิธีใช้เป็นยารักษาโรค นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร

1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้า มาทุบพอแตกต้มกับน้ำ

2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด

3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

4. รักษาอาการปวดประจำเดือน ในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแก่แห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่มบ่อยๆ

5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง

6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ เป็นหนอง

7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียด คั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณฟันที่ปวด

ถั่วลันเตา


ถั่วลันเตา
ส่วนที่ใช้ : เถา และฝัก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : เถา ใช้กินเป็นยารักษาโรคตับทรุด ตับพิการ และชักตับ ฝัก จะมีรสมัน ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งอาหารจีน และอาหารฝรั่ง

อื่น ๆ : ฝักยังขายเป็นสินค้า ที่ใช้ในการปรุงอาหาร นอกจากนี้แล้วยังสามารถนำฝักมาแกะเอา เมล็ด นำไปต้มดองไว้หรือจะทำเป็น ถั่วกระป๋องขายได้ราคาดีมาก

ถั่วพู


ถั่วพู
ส่วนที่นำมาเป็นยา:หัวถั่วพู
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ:วิตามิน เอ, ซี, อี , คาร์โบไฮเดรท ,โปรตีน, ไขมัน และฟอสฟอรัส
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้: แก้อ่อนเพลีย เป็นยาบำรุงกำลังของคนป่วยหนัก : นำหัวถั่วพูตากแห้ง หั่นคั่วไฟให้เหลืองหอม ชงน้ำดื่ม

ยาระบาย : คั้นน้ำจากหัวถั่วพูใช้ดื่ม
คุณค่าทางอาหาร:ถั่วพูมีวิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส มีสารข่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัวทางไทยใช้เป็นยาชูกำลังบรรเทาอาการปวดตามข้อ จึงต้องเลือกผักที่ให้พลังงานเมล็ดถั่วพูมีโปรตืนสูงมากฝักรับประทานได้ทั้งฝักสดและนำไปประกอบ อาหารเป็นผักที่ให้พลังงาน

ถั่วฝักยาว


ถั่วฝักยาว
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือกฝัก เมล็ด และราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

ใบ : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง

เปลือกฝัก : ใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก โดยการตำพอก และเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม

เมล็ด : ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสด จะมีรสชุ่ม เป็นยาบำรุงม้าม และไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาวราก : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำ หรือตุ๋นกับเนื้อกิน ใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอก หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทา หรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้าย และช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น

ข้อห้ามใช้ : สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกนั้น ไม่ควรจะนำเมล็ดมากินตำรับยา

1. ใช้ฝักสดเคี้ยวกิน หรือตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำกิน ใช้รักษาอาการท้องอืดและแน่น เพราะกินมากเกินไป เรอเปรี้ยว

2. ใช้รากสดนำมาผสมกับรากเถาตดหมาตดหมู นำมาตุ๋นกับเนื้อวัวกิน สำหรับเด็กที่เบื่ออาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหาร ทำงานไม่ดี

3. ใช้เมล็ด และผักบุ้ง นำมาตุ๋นกับเนื้อไก่กิน รักษาอาการตกขาวของสตรี

4. ใช้เมล็ดหรือฝักสด นำมาต้มน้ำผสมกับเกลือใช้กินทุกวัน เพื่อเป็นยาบำรุงไต

บวบเหลี่ยม


บวบเหลี่ยม
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ผล เปลือกผล ขั้วผล เมล็ด เถา น้ำจากจากเถา และราก ใช้เป็นยาถิ่นข้อมูลทางเภสัชวิทยา : เมล็ดบวบเหลี่ยมที่มีรสขม จะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย และมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน ท้องเสีย และทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรงเนื่องจากมีสาร elaterin ที่ทำให้ถ่าย ส่วนรากก็มีฤทธิ์ทำให้ถ่ายได้เช่นกัน สำหรับสารพวกซาโปนิน (saponins) ในเมล็ก ก็มีฤทธิ์ช่วยกระต้นหัวใจกบ คล้ายกับดิยิตัลลิส (digitalis) ซึ่งสามารถ ย่อยเม็ดเลือดแดงของสุนัขและเป็นพิษต่อปลามาก และสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเมล็ดขนาด 1 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทำให้สุนัขที่กินตาย ก่อนตายจะมีอาการน้ำลายฟูมปากอาเจียน และจะมีเลือดออกในลำไส้ เมล็ดนี้สามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้ ส่วนใยผลของบวบเหลี่ยมนั้น สามารถใช้สระผมเพื่อรักษารังแคได้ เมล็ดบวบเหลี่ยมชนิดขมที่แกะเปลือกออกแล้ว ใช้กินเป็นยาหล่อลื่นลำไส้ หรือใช้รักษาโรคบิดแทน ipecacuanha ได้ดี และยังขับเสมหะ แต่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ส่วนน้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดใช้ทารักษาโรคผิวหนัง

มะเขือยาว


มะเขือยาว
ส่วนที่ใช้ : ลำต้นและราก ใบ ดอก ผล ขั้วผล

สรรพคุณ : ลำต้นและราก ใช้ลำต้นและรากแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้ม เอาน้ำกินเป็นยาแก้บิดเรื้อรัง บิดอุจจาระเป็นเลือด หรือใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาหรือล้างบริเวณที่เป็นแผลที่ถูกความเย็น แผลเท้าเปื่อยอักเสบ เป็นต้นใบ ใช้ใบแห้ง นำมาตำให้เป็นผงละเอียดกินประมาณ 6-10 กรัม เป็นยาแก้โรคบิดอุจจาระเป็นโลหิต แก้ปัสสาวะขัด แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือดในลำไส้ ใช้ภายนอกนำเอามาต้มเอาน้ำใช้ล้างแผล หรือใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนอง และแผลที่เกิดเนื่องจากถูกความเย็นดอก ใช้ดอกสด หรือดอกแห้ง นำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้เป็นผงละเอียด ใช้มาบริเวณที่ปวดเป็นยาแก้ปวดฟัน ฟันผุ และบริเวณแผลที่มีหนอง เป็นต้นผล ใช้ผลแห้ง นำมาทำเป็นยาเม็ด กินเป็นยาแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ อุจจาระเป็นโลหิต หรือใช้ผลสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบที่มีหนอง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง และผดผื่นคัน เป็นต้นขั้วผล ใช้ขั้วผลที่แห้ง ประมาณ 60-90 กรัม นำมาต้มหรือเผาให้เป็นเถ้าบดให้ละเอียดกิน เป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้ อุจจาระเป็นโลหิตหรือใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นแผลบวมมีหนอง แผลในปาก ปวดฟัน หรือเป็นฝี เป็นต้น ตำรับยา : 1. สำหรับผู้หญิงหัวนมแตกเจ็บ ให้ใช้ผลแก่จัด นำมาตากในร่ม จนแห้งแล้วนำไปเผาให้เป็นเถ้า จากนั้นก็บดให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วใช้ทาบริเวณที่เจ็บ

2. แผลที่เกิดจากพยาธิปากขอ เจาะไชเท้าให้ใช้ใบนำไปต้มเอาน้ำล้างบริเวณแผล

3. เป็นฝีหลายหัว บริเวณที่หลัง หนองยังไม่แตก ให้ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำส้มสายชูสีดำ นำมาต้มแล้วพอกในบริเวณที่เป็น

4. เป็นปื้นขาว หรือแดงบริเวณบนผิวหนัง ให้ใช้ขั้วผลที่แห้งแล้ว คลุกผสมกับกำมะถัน จากนั้นก็บดให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็น

5. สำหรับเด็กที่เป็นวัณโรค อาเจียนเป็นโลหิต ไอ ท้องเสีย อาการที่พึ่งเป็น หรืออาการที่ยังไม่รุนแรง ให้ใช้หนอนลำต้นมะเขือเทศ (ต้นที่ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง) นำมาผสมกับอาหารให้เด็กรับประทาน

สะตอ


สะตอ
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ยอด

สรรพคุณ : เมล็ด-ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด กินเป็นประจำช่วยป้องกันโรค เบาหวาน และใช้กินเป็นผักเหนาะ

ยอด-รับประทานเป็นผักเหนาะ
ผลต่อความดันโลหิต - ผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์- ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย- ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา- ผลของการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง- ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด- ฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

มะตูม


มะตูม
เปลือกของรากและลำต้นของมะตูม สามารถลดไข้ และใช้เป็นยารักษาไข้มาลาเรียในสมัยก่อน ขับลมในลำไส้
ราก แก้พิษฝี พิษไข้ รักษาน้ำดี
ใบสด แก้ไอ ขับเสมหะ หากมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ให้เอาใบมะตูมดิบๆ มาคั้นเอาน้ำเพื่อดื่ม ช่วยบรรเทาอาการไอและเสมหะเรื้อรังลงได้มี
ผลมะตูม ผลอ่อนที่มีสีเขียว ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ขับลมในท้อง ผลแก่แก้เสมหะ ช่วยย่อยอาหาร และยังสามารถเอาผลสุกมาชงดื่มเป็นยาแก้ร้อนใน หรือ เอามะตูมตากแห้งมาต้มเป็นชาสมุนไพรก็จะได้ผล็อย่างเดียวกัน นอกจากนี้ ผลดิบแห้งยังใช้แก้บิด และแก้ท้องเสียในเด็กได้ด้วย ส่วนผลสุกนั้นกลับเป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหารได้ดีโดยเฉพาะในเด็ก

การดื่มน้ำมะตูมเย็นๆ ยังสามารถทำให้อารมณ์ที่ร้อนรุ่มขุ่นมัวของคุณเย็นลงได้อย่างน่ามหัศจรรย์ พร้อมเติมพลังให้กับร่างกายในยามที่อ่อนล้า คนโบราณยังเชื่ออีกว่าว่า มะตูม เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้าน จะสามารถทำให้เกิดกำลังใจ และความมานะพยายามที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้ มะตูม ยังมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม และพิธีมงคลของไทย อย่างเช่น เวลาเข้ากราบบังคมลาพระเจ้าแผ่นดินไปรับราชการ หรือ ศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ก็จะได้รับพระราชทานใบมะตูมเป็นสิริมงคล งานสมรสพระราชทานคู่บ่าวสาวก็จะมีใบมะตูมทัดหู การทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ และการครอบครูก็จะใช้ใบมะตูมเป็นองค์ประกอบในพิธี อีกทั้ง มะตูม ยังช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ได้อีกด้วย

กล้วยน้ำว้า


กล้วยน้ำว้า
รักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้
การรักษาจะไม่หายขาด ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองคล้ายกับผู้ป่วยท้องอืด ท้องเฟ้อ ระยะที่ปวดท้องควรดื่มนมถั่วเหลืองทุก 3-4 ชั่วโมงพร้อมทั้งใช้สมุนไพรที่แนะนำ รับประทานอาหารอ่อน ทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่ทานบ่อยๆ งดอาหารรสจัดและสิ่งต้องห้ามข้างต้น และหาทางคลายเครียดด้วย จะมีสมุนไพรที่ช่วยรักษาเยื่อบุทางเดินอาหารให้แข็งแรงขึ้น และควรใช้สมุนไพรขับลมร่วมด้วย
กล้วยน้ำว้ารับประทานผลดิบสดครั้งละครึ่งถึง 1 ผล อาจใช้ผลดิบหั่นบางๆตากแห้ง บดเป็นผงชงน้ำดื่ม ใช้ผงยาเท่ากับครึ่งถึง 1 ผล
ข้อควรระวัง อาจมีอาการท้องอืดหลังรับประทานยานี้ แก้ได้โดยดื่มน้ำต้มขิงหรือสมุนไพรขับลมอื่นๆขมิ้นชันผงขมิ้นครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอนหรือปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2 เม็ด

14 พฤศจิกายน 2552

บัวบก


บัวบก ผลจากงานวิจัยสกัดสารต้านสิว ในบัวบกมีกลุ่มสารสำคัญจำพวกไตรเทอร์ปีน และกลัยโคไซด์ของไตรเทอร์ปีน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีผลการวิจัยรองรับมาก มาย ทั้งการศึกษาในสัตว์ ทดลองและในคน โดยพบว่าสารในบัวบกมีฤทธิ์ในการรักษาแผลกระตุ้น การสร้าง collagen เร่งขบวนการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ จึงช่วยเร่งให้แผลหายเร็วขึ้น และมีประโยชน์ในการรักษาแผลเป็นและ keloid โดยสามารถลดการเกิดfibrosis จึงช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นได้สารสกัดบัวบกยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอาการแพ้ จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรืออักเสบ เนื่องจากแมลงกัดต่อย และลดอาการข้ออักเสบในคนไข้ได้อีกด้วย จากผลการทดลองใช้ครีมบัวบกทาแผลอักเสบหลังผ่าตัด พบว่าช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นนอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ สารสกัดน้ำบัวบกมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S.aureus และเชื้ออื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองได้ โดยผลต่อการเรียนรู้สารสกัดน้ำของบัวบก ขนาด 200 มก./กก. สามารถทำให้การเรียนรู้และความจำของหนูทดลองดีขึ้น ทั้งยังพบว่าสารสกัดบัวบกช่วยเพิ่มความสามารถ ในการเรียนรู้ของหนูที่มีอาการอัลไซเมอร์ได้จากการวิจัยของ รศ.ดร.วันดี กฤษณพันธ์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าบัวบกชนิดก้านขาว ให้สารสกัดน้อยกว่าบัวบก ชนิดก้านแดง โดยบัวบกทั้งสองชนิด ประกอบด้วยสารสำคัญ asiaticoside และสารอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้ศึกษาวิจัยการ นำสารสกัดบัวบกมาผลิต เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายชนิดโดยพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดบัวบก ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยในการสมานผิว ป้องกันรอยแผลเป็น ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว และลดการสะสมของแบคทีเรียได้อย่างดี บัวบกที่มีฤิทธิ์ฆ่าเชื้อ เมื่อใช้แต้มหัวสิว

จากการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง พบว่าทำให้สิวแห้งและหายเร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อวิธีใช้ นำมาผสมน้ำสะอาด พอกหน้าแห้งแล้วล้างออก

มังคุด


“มังคุด”ผลไม้ที่ถูกยกย่องให้เป็น ราชินีของผลไม้ แต่นอกเหนือจากความอร่อยของเนื้อในมังคุดแล้ว เปลือกของมังคุดนั้น คนไทยเรายังได้รู้จักนำเอาเปลือกไปใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาเปลือกมังคุดมาใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง สรรพคุณที่โดดเด่นของเปลือกมังคุดที่เรารู้จักใช้กันมานานคือการใช้เปลือกมังคุดในการรักษาโรคผิว สิวต่างๆ บรรเทาอาการผดผื่น โดยใช้เปลือกมังคุดแห้งมาต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมังคุดทาบริเวณที่มีอาการ และด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้เอง เปลือกมังคุดจึงถูกดึงมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สบู่ที่ช่วยบรรเทาโรคผิวหนัง สบู่รักษาสิวฝ้า ซึ่งเป็นที่นิยมจริงๆแล้วเปลือกมังคุดได้รับการพิสูจน์และยืนยัน จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบว่า รสฝาดในเปลือกมังคุดมีสารที่เรียกว่า แทนนิน(tannin)ซึ่งมีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สารแซนโทน(Xanthon)ช่วยยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังได้ และสารที่มีชื่อเรียกเฉพาะชื่อเดียวกับมังคุดว่า แมงโกสติน (Mangostin) มีฤทธืช่วยลดการอักเสบ และต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองผลวิจัยจะพบว่าเปลือกมังคุด เปลือกทับทิม มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก

มีคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระที่เหมาะสมมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ และพบว่าเปลือกมังคุดประกอบด้วยสารธรรมชาติ GM-1

ซึ่งมี คุณสมบัติเด่น 4 ประการ คือ

1. ระงับการเจริญของเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุสิว

2. ต้านการอักเสบ

3. ต้านอนุมูลอิสระ

4. ช่วยสมานผิว กระชับรูขุมขน

วิธีใช้ ใช้ ผสมน้ำเปล่าเท่านั้นอย่าให้ข้นหรือใสเกินไป พอกหน้าจนแห้งแล้วล้างออก หรือแต้มหัวสิวหนอง ยุบทันใจใน1-2วัน